ที่ตั้งของเทศบาลตำบลชุมพลบุรี
ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลตำบลชุมพลบุรี ได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลชุมพลบุรีเป็นเทศบาลตำบลชุมพลบุรี ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ตามพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.๒๕๔๒ ซึ่งแต่เดิมสุขาภิบาลชุมพลบุรีจัดตั้งขึ้นโดยประกาศกระทรวงมาดไทย เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๙ มีพื้นที่ประมาณ ๑.๕ ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีหมู่บ้านในเขตเทศบาลจำนวน ๓ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑, ๑๕ และ
๑๘ตำบลชุมพลบุรี อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ สถานที่ตั้งของเทศบาลตำบลชุมพลบุรี ปัจจุบันมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ อาคารเลขที่ ๓๓๓ ถนนหลักเมือง อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์
๑.๒
ลักษณะภูมิประเทศ
เทศบาลตำบลชุมพลบุรี ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลในเขตของทุ่งกุลาร้องไห้
๑.๓
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของเทศบาลตำบลชุมพลบุรี
อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ จัดอยู่ภายใน เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Tropical Savanna Climate : Aw) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเขตภูมิอากาศแบบสวันนา
(Savanna Climate) ซึ่งเป็นลักษณะอากาศที่มีฤดูแล้งสลับฤดูฝนอย่างเด่นชัด จากสถิติภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในคาบ ๓๐ ปี
(พ.ศ.๒๕๑๔ ๒๕๔๓)
ของจังหวัดสุรินทร์ พบว่า ปริมาณฝนรวมเฉลี่ยทั้งปีวัดได้
๑,๓๕๑.๖ มิลลิเมตร ความชื้นสัมพัทธ์สูงที่สุดเฉลี่ยวัดได้ ๙๖ เปอร์เซ็นต์
ในเดือนกันยายน ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำที่สุดเฉลี่ยวัดได้ ๓๙ เปอร์เซ็นต์
ในเดือนมีนาคมโดยรวมแล้วจังหวัดสุรินทร์มีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยทั้งปี
๗๓ เปอร์เซ็นต์
ลักษณะอากาศเช่นนี้เกิดขึ้นเนื่องจากจังหวัดสุรินทร์ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม
๒ ชนิด
คือ
ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
จึงสามารถแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น ๓ ฤดู
ดังนี้
๑.๓.๑ ฤดูฝน (Rain Season) เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามันและอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมและมีอิทธิพล ของร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมพาดผ่าน (International
Tropical Convergence Zone : ITCZ or Monsoon Trough) ทำให้เริ่มมีฝนตกชุกตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปจนถึงกลางเดือนมิถุนายน หลังจากนั้นไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคมฝนจะลดน้อยลงมากบางวันอาจไม่มีฝนตกเลย
เรียกระยะนี้ว่า ระยะฝนทิ้งช่วง (Dry Spell) เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมได้เคลื่อนตัวขึ้นไปพาดผ่านตอนบน ของประเทศลาว
เวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ สำหรับในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนฝนจะกลับมาตกชุกอีกครั้งหนึ่ง
เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมได้เคลื่อนตัวลงมาพาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ
ประเทศไทย
ในฤดูนี้มักมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวจากทะเลจีนใต้เข้ามามีอิทธิพลต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เฉลี่ยปีละ
๑ ๓ ลูก จากสถิติภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในคาบ
๓๐ ปี (พ.ศ.๒๕๑๔ ๒๕๔๓) ของจังหวัดสุรินทร์ พบว่า ฝนตกชุกมากที่สุดคือเดือนกันยายน
วัดปริมาณฝนรวมเฉลี่ยได้ ๒๕๙.๒ มิลลิเมตร
รองลงมาคือเดือนสิงหาคม วัดปริมาณฝนรวมเฉลี่ยได้ ๒๒๔.๖ มิลลิเมตร ปริมาณฝนรวมเฉลี่ยทั้งปีวัดได้ ๑,๓๕๑.๖ มิลลิเมตร
๑.๓.๒ ฤดูหนาว (Winter Season) เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ในฤดูนี้จังหวัดสุรินทร์ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่งเป็นลมที่พัดออกจากความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน
มีลักษณะอากาศเย็นและแห้ง ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจะแผ่ปกคลุมตลอดฤดู
อุณหภูมิจะลดต่ำลงทำให้มีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับกำลังและขนาดของมวลอากาศเย็นนั้น
จากสถิติภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในคาบ
๓๐ ปี
(พ.ศ.๒๕๑๔ ๒๕๔๓) ของจังหวัดสุรินทร์
พบว่า อากาศหนาวเย็นที่สุดอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม วัดอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยได้ ๑๗.๗ องศาเซลเซียสและ
๑๗.๗ องศาเซลเซียสตามลำดับ อุณหภูมิต่ำที่สุดที่เคยวัดได้เท่ากับ ๘.๒ องศาเซลเซียส
ในเดือนธันวาคม ในฤดูนี้มักประสบปัญหาภัยแล้งเนื่องจากมีฝนลดน้อยลงอย่างมากส่วนใหญ่ไม่มีฝนตกเลย
อนึ่ง ในฤดูนี้อาจมี คลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนตัวมาจากประเทศพม่าผ่านภาคเหนือของประเทศไทยเข้ามามีอิทธิพลต่อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ ซึ่งอาจทำให้มันฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้แต่ปริมาณฝนจะไม่มากนัก
๑.๓.๓ ฤดูร้อน (Summer Season) เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ลมที่พัดปกคลุมในฤดูนี้ส่วนใหญ่เป็นลมใต้และลมตะวันตก
และมักจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อน
(Heat Low) ปกคลุมตลอดฤดู
ทำให้มีอากาศร้อนโดยทั่วไปบางวันมีอากาศร้อนจัด
สามารถวัดอุณหภูมิได้สูงถึง ๔๐ องศาเซลเซียสขึ้นไป จากสถิติภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาในคาบ ๓๐ ปี
(พ.ศ. ๒๕๑๔ ๒๕๔๓) ของจังหวัดสุรินทร์ พบว่า เดือนเมษายนและพฤษภาคมเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนมากที่สุด
อุณหภูมิสูงที่สุด ที่เคยวัดได้ ๔๑.๖ องศาเซลเซียส ในฤดูนี้จะมีบางช่วงที่มีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาจะเกิดการ ปะทะกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่ก่อนแล้ว ทำให้เกิดพายุฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางครั้งมีลูกเห็บตก เกิดขึ้นด้วย เราเรียกพายุชนิดนี้ว่า พายุฤดูร้อน (Summer Storm)
ฝนที่ตกลงมาในฤดูนี้ยังมีปริมาณน้อย มักไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก
๑.๔
ลักษณะของดิน
ลักษณะของดินของเทศบาลตำบลชุมพลบุรีเป็นดินร่วนปนทราย ฉะนั้นดินในเทศบาลตำบล ชุมพลบุรีจึงอุ้มน้ำได้น้อย
๑.๕
ลักษณะของแหล่งน้ำ
เทศบาลตำบลชุมพลบุรี มีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำมูลไหลผ่านเขตตำบลชุมพลบุรีไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานี
เป็นแหล่งน้ำที่ใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร การเพาะปลูก การคมนาคม นอกจากนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำต่างๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของราษฎร หากไม่ได้รับผลกระทบ จากภาวะภัยแล้งจะมีน้ำตลอดทั้งปี
๒.
ด้านการเมือง/การปกครอง
๒.๑
เขตการปกครอง
เนื้อที่ในเขตเทศบาลตำบลชุมพลบุรี มีเนื้อที่การปกครองประมาณ ๑.๕ ตารางกิโลเมตร โดยมีหมู่บ้านจำนวน ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๑, ๑๕ และ ๑๘ (บางส่วน) ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากศูนย์กลางจังหวัดสุรินทร์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยทางรถยนต์ระยะทางประมาณ ๙๒ กิโลเมตร แยกการปกครองออกเป็น ๖ ชุมชน ดังนี้
๑.
ชุมชนเมืองใหม่
๒.
ชุมชนคุ้มกลาง
๓.
ชุมชนประปา
๔.
ชุมชนหลักเมือง
๕.
ชุมชนเหนือ
๖.
ชุมชนวัดกลาง
อาณาเขตตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๙
ด้านทิศเหนือ จากหลักเขตที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ฝากตะวันตกของถนนชุมพลบุรีท่าตูม ตรงที่อยู่
ห่างจากฟากเหนือของทางหลวงสายชุมพลบุรี
ท่าตูม ไปทางทิศเหนือ ถนนสาย ๒๐๘๑
จากหลักเขตที่ ๑ เป็นเส้นขนานกับทางหลวงสายชุมพลบุรีท่าตูม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จดฝั่งตะวันตกของกุดคณฑี
ซึ่งเป็นหลักเขตที่ ๒
ด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ จากหลักเขตที่ ๒ เลียบตามฝั่งตะวันตกและฝั่งเหนือของ กุดคณฑี ไปทางทิศใต้ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงจุดซึ่งอยู่ห่างจากปากหนองกระทุ่ม ฝั่งตะวันตกตรงที่บรรจบกับกุดคณฑีไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
๑๕๐ เมตร ซึ่งเป็นหลักเขตที่ ๓
ด้านทิศตะวันตก จากหลักเขตที่ ๓ เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จนบรรจบกับ หลักเขตที่ ๑
๒.๒
ด้านการเมือง
๑. ฝ่ายนิติบัญญัติหรือสภาเทศบาล ประกอบด้วยสมาชิกที่ราษฎรเลือกตั้ง จำนวน ๑๒ คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี
๒. ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีที่ราษฎรเลือกตั้ง จำนวน ๑
คน และนายกเทศมนตรีแต่งตั้งรองนายก ๒ คน ที่ปรึกษานายก ๑ คน และเลขานุการนายก ๑ คน รวม ๕ คน มีอำนาจหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า
๓.
ประชากร
๓.๑
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
เทศบาลตำบลชุมพลบุรี จำนวนประชากรทั้งหมด ๒,๔๑๙ คน
-
ชาย ๑,๑๖๙ คน
-
หญิง ๑,๒๕๐ คน
ข้อมูล ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๙
๓.๒
ช่วงอายุและจำนวนประชากร
ข้อมูล ณ วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๙
|
หญิง
|
ชาย
|
หมายเหตุ
|
จำนวนประชากรเยาวชน
|
๒๘๒ คน
|
๒๖๐ คน
|
อายุต่ำกว่า ๑๘ ปี
|
จำนวนประชากร
|
๗๓๕ คน
|
๗๖๖ คน
|
อายุ ๑๘ ๖๐ ปี
|
จำนวนประชากรผู้สูงอายุ
|
๒๓๓ คน
|
๑๔๓ คน
|
อายุมากกว่า ๖๐ ปี
|
รวม
|
๑,๒๕๐ คน
|
๑,๑๖๙ คน
|
ทั้งสิ้น ๒,๒,๔๑๙ คน
|
|